Recent Posts
Science Experiences Management for Early Childhood
19 September 2014
Time 13:00 to 16:40 pm.
Science Experiences Management for Early Childhood
19 September 2014
Time 13:00 to 16:40 pm.
ความรู้ที่ได้รับ
ในการเรียนการสอนวันนี้ อาจารย์ได้ให้สื่อประสฃดิษฐิ์มาให้นักศึกษาได้จับ สังเกต สื่อที่อาจารย์นำมา ว่ามีอะไรเกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงอย่างไร หลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำกิจกรรม ซึ่งอาจารย์ได้มีอุปกรณ์ในการประกอบกิจกรรมดังนี้
อุปกรณ์
1.กระดาษ A4 สีชุมพู
2.สีเมจิก
3.กรรไกร
4.กาว
5.ไม่เสียบลูกชิ้น
ขั้นตอนการทำ
1.นำกระดาษ A4 แบ่งใก้ได้ 4ส่วน
2.แล้ววาดภาพตามจินตการที่สัมพันธ์กัน
3.หลังจากนั้นนำไม้เสียบลูกชิ้นมาติกกับกาว ไว้กึ่งกลางกับกระดาษที่วาดรูปไว้
สรุปการทำกิจกรรม
-จากการทำกิจกรรมในวันนี้ ได้เรียนรู้จากสิ่งของเล็กๆน้อย แต่สามารถมาประยุกต์ในการทำสื่อสิ่งประดิษฐิ์ให้ได้เกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างมาก ทำให้ดิฉันได้เรียนรู้ถึงการเปลี่ยนแปลในขณะเราหมุน อย่างเช่นของดิฉันได้วาดรูป .ดอกไม้กับผีเสื้อ เมื่อเราได้หมุนจะเกิดการเปลี่ยนแปลง เป็น ผีเสือเกาะดอกไว้ ซึ่งเป็นสื่ออุปกรณืที่เอาจารย์นำมามาสอนเป็นสิ่งที่ดีมาก
สรุปบทความเรื่องที่1 สอนลูกเรียนปรากฏการณ์ธรรมชาติ ของ นางสาวประภัสสร หนูศิริ
การปลูกฝังหรือเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์ให้กับเด็กในช่วงปฐมวัยจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ที่จะทำให้เด็กได้ตระหนักถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติในทางลบที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์เป็นเบื้องต้น การที่เด็กได้เรียนรู้สาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ย่อมทำให้เด็กมีลักษณะนิสัยที่รู้จักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และสามารถดำรงชีวิตแบบพึ่งพาซึ่งกันและกันได้ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลในอนาคต ซึ่งเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัวเป็นสาระที่เด็กควรเรียนรู้เกี่ยว กับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่น ฤดูกาล กลางวัน กลางคืน เป็นต้น สาระที่ควรเพื่อเตรียมความพร้อมทางด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย เป็นการส่งเสริมให้เด็กสนใจเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว เป็นความคิดรวบยอดทางกายภาพ เด็กจะได้ใช้ทักษะการสังเกต การตั้งคำถาม และการหาคำตอบ ช่วยให้เด็กได้ฝึกฝนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในลำดับขั้นสูงต่อไป ดังที่ Robert Craig ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ไว้ 5 ประการ ที่เรียกว่า “5 Craig’s Basic Concepts” ว่าทุกสิ่งในโลกนี้จะมีลักษณะสำคัญร่วม 5 ประการ คือ
ความเปลี่ยนแปลง (Change) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงควรให้เด็กเรียนถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ
ความหลากหลาย (Variety) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มีความคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกัน จึงควรให้เด็กเรียนรู้ความเหมือนและความแตกต่างของสิ่งต่างๆ
การปรับตัว (Adjustment) ทุกสิ่งทุกอย่างจะมีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ครูจึงควรสอนให้เด็กได้สังเกตลักษณะของสิ่งนี้ เช่น จิ้งจกจะเปลี่ยนสีตามผนังที่เกาะ เป็นต้น
การพึ่งพาอาศัยกัน (Mutuality) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เช่น นกเอี้ยงกับควาย ดังนั้น ครูจึงต้องให้เด็กเห็นธรรมชาติของสิ่งนี้
ความสมดุล (Equilibrium) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะต้องต่อสู้เพื่อรักษาชีวิต และปรับตัวเพื่อให้ได้สมดุล และมีการผสานกลมกลืนกันเช่น ปลาอยู่ในน้ำ นกบินได้ ปลาใหญ่ย่อมกินปลาเล็ก สัตว์แข็งแรงย่อมกินสัตว์ที่อ่อนแอ สัตว์ที่อ่อนแอต้องมีอาวุธพิเศษบางอย่างไว้ป้องกันตัว เป็นต้น เด็กควรมีความเข้าใจธรรมชาติของสิ่งนี้ เพื่อให้ตนเองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติสามารถรักษาสมดุลไว้ได้
สรุปบทความเรื่องที่2 สอนลูกเรื่องสัตว์ ของ นางสาวอรุณี พระนารินทร์
การสอนเรื่องสัตว์ให้แก่เด็กปฐมวัย จะเกิดประโยชน์ต่อเด็กในด้านต่างๆ ดังนี้
ด้านร่างกาย เด็กจะได้เคลื่อนไหวร่างกายประกอบจังหวะ เลียนแบบท่าทางของสัตว์ต่างๆ ได้ออกกำลักายกลางแจ้งผ่านเกมการละเล่นเกี่ยวกับสัตว์ เช่น แม่งู ลิงชิงบอล วิ่งเปี้ยว เป็นต้น ด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กจะได้ทดลองให้อาหารสัตว์ เล่าถึงสัตว์เลี้ยงของตนเอง เป็นการปลูกฝังความเอื้อเฟื้อ ความมีน้ำ ใจ เมตตากรุณาต่อสัตว์ และการฟังนิทานเกี่ยวกับสัตว์อันเป็นการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น นิทานอีสปด้านสังคม เด็กจะเรียนรู้การทำกิจกรรมร่วมกันกับเพื่อน และการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ด้านสติปัญญา เด็กจะได้รู้จักการดำรงชีวิตของสัตว์ชนิดต่างๆ อาหารของสัตว์ ลักษณะประเภทของสัตว์ต่างๆ
สรุปบทความเรื่องที่ 3 สนุกเป่ากับวิทยาศาสตร์
1 การสังเกต ตัวอย่างเช่น นำภาพรถยนต์ กับ รถบรรทุก มาวางด้วยกัน แล้วให้เด็กสังเกตดูว่ามีอะไรที่ต่างกัน และ เหมือนกัน เด็กๆอาจตอบคำถามได้หลากหลาย และบางคำตอบคุณก็อาจคิดไม่ถึงด้วยเหมือนกัน นี่เป็นเพียงแค่หนึ่งตัวอย่าง คุณอาจจะลองใช้เทคนิคอื่นก็ได้
2 การฝึกประสาทสัมผัส นอกจากการสังเกตแล้ว เรายังมี การฟัง รับรู้รส สัมผัส ดมกลิ่น ซึ่งสามารถนำมาฝึกกับเด็กๆได้ เช่น ลองนำผลไม้มาหลากหลายชนิดมา แล้วให้เด็กๆปิดตา สัมผัส ดมกลิ่น แล้วก็ชิมดู หลังจากนั้น ก็ให้เด็กๆ ทายว่าเป็นผลไม้ชนิดไหน
3 การค้นพบ “สิ่งที่น่าสนใจ”ในธรรมชาติ สิ่งนี้อาจอยู่รอบๆตัวเราก็ได้ เช่น น้องครามนั่งจองดูมดแดงเดินขบวนหนีน้ำเป็นแถว แล้วก็ถามผู้ใหญ่ว่ามดมีกี่ขา แล้วมดเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย หลังจากผู้ปกครองให้คำตอบแล้ว อาจหาหนังสือเกี่ยวกับมดมาให้เด็กได้ศึกษาเพิ่มเติม
4 การเรียนรู้ด้านสุขอนามัยและการฝึกฝนเพื่อความปลอดภัย เช่น สอนการล้างมือก่อนกินอาหาร, หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่ตกพื้น,การข้ามถนนบนทางม้าลาย
5 การคาดการณ์ที่ควรเรียนรู้ ยกตัวอย่างเช่น สภาพอากาศ ถ้ามองท้องฟ้าแล้ว มีแดดจัดมากๆ เด็กๆจะออกไปข้างนอกควรจะนำหมวกหรือร่มไปด้วย
6 การฝึกสำดับเหตุการณ์ ตัวอย่างเช่น การทำไข่เจียว อันดับแรกต้องตอกไข่ใส่ชาม หลังจากนั้นจึงตีไข่ให้ขึ้นฟู ถัดมาเตรียมตั้งกระทะใส่น้ำมัน รอจนน้ำมันร้อน แล้วจึงเทไข่ที่ตีไว้ใส่กระทะ รอให้ไข่สุก จึงตักขึ้นใส่ชาม
7 การฝึกการวัดและพัฒนาความสนใจทางคณิตศาสตร์ เช่นการวัดส่วนสูงของเด็กๆ กับ คุณพ่อ คุณแม่ ว่าใครสูงเท่ากี่ ซม. ใครสูงกว่าใคร หรือจะเป็นการชั่งน้ำหนัก การตวงสิ่งของ ในการทำกับข้าว
8 การสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ เช่นการนำกล่องนม หลอด หรือ ขวดพลาสติก มาสร้างเป็น หุ่นยนต์, ตุ๊กตา หรือ บ้าน
ประยุกต์ใช้อย่างไร
-สามรถนำเทคนิกสื่อ สิ่งประดิษฐิ์ที่ประประดิษฐ์วันนี้ เอาไปใช้สอนกับเด็กปฐมวัยได้ และเป็นสื่อที่สามารถให้เด็ได้เรียนรู้การเคลื่อนไหว และให้เด็กฝึกการสังเกตุการเปลี่ยนแปลง
-สามรถนำความรู้จากที่เพื่อนนำเสนอบทความไปประยุกต์ปรับใช้ในการสอนเด็กเด็ก หรทอให้ความรู้แก่ผู้ปกครองได้ และทำให้ดิฉันสามารถเข้าใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มากขึ้น
-สามรถนำความรู้ไปใช้ในสอนให้กับเด็กปฐมวัยในอนาคตได้เป็นอย่างดี
การประเมิน
การประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียนร้อย และฟังเพื่อนนำเสนอบทความ และมีส่วนร่วมกับกิจกรรมและมีส่วนร่วมในการตอบคำถามที่อาจารย์ถาม และตั้งจประดิษฐ์สื่อ ที่อาจารย์ได้จัดเตรีมไว้ให้ เป็นอย่างดี
การประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียน ฟังเพื่อนนำเสนอบทความ เพื่อนมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม บรรกาศในห้องมีความสุข บรรยากาศน่าเรียนมาก มีการถามตอบ เพื่อนๆตั้งใจ ทำสื่อปแระดิษฐิ์ที่อาจารย์ได้จัดเครียมมาให้เป็นอย่างดี
การประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา อาจารย์มีเทคนิคในการสอน โดยให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการเรียน อาจารย์สอนได้สนุกมาก สอนเทคนิกในการทำสื่อเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ สามรถนำไปปรับใช้ในอนาคตได้ด้วย และในการที่เพื่อนออกนำเสนอบทความ อาจารย์ก็ได้อธิบายเพิ่มเติมกับบทความของเพื่อน ซึ่งทำให้ดิฉันเข้าใจบทความของเพื่อนมากขึ้น อาจารย์มีการยกตัวซึ่งจะทำให้ดิฉัน มองเห็นถึงภาพและเข้าใจมากยิ่งขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น