Recent Posts
Science Experiences Management for Early Childhood
26 September 2014
Time 13:00 to 16:40 pm
Science Experiences Management for Early Childhood
26 September 2014
Time 13:00 to 16:40 pm
ความรู้ที่ได้รับ
ในการเรียนการสอนวันนี้ อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำกิจกรรม เป็นสื่อสิ่งประดิษฐิ์ "กังหันมหรรศจรรย์"
อุปกรณ์
1.กระดาษ
2.กรรไกร
3.คลิปหนีบกระดาษ
ขั้นตอนวิธีการทำ
-พับกระดาษที่อาจารย์ได้เตรียมไว้ให้ หลังจากนั้นพับครึ่งกระดาษให้เท่ากัน
-จากนั้นคลี่กระดาษออก แล้วนำกรรไกรตัดกระดาษตามแนวยาวถึงที่พับครึ่ง
-แล้วพับกระดาษแถบที่ไม่ได้ตัดเข้าไปนิดนึง
-นำคลิปหนีบกระดาษมาติด
สิ่งที่ได้รับจากการทำกิจกรรม ประดิษฐิ์สื่อ "กังหันมหรรศจรรย์ "
จากการทำกิจกรรมเสร็จสิ้นแล้ว อาจารย์ได้ให้นักศึกษาออกมาสาธิตการนำเสนอของชิ้นงานของตัวเองมาผลออกมาอย่างไร? แตกต่างกับของเพื่อนใหม? โดยให้นักศึกษาโยนโยนขึ้บบนอากาศ แล้วให้นักศึกษาสังเกตุโดยการหมุนของกังหัน ว่าของนักศึกษา แต่ละคนหมุนย่างไร?
โดยนักศึกษาแถวที่ 1-3 ตัดกระดาษให้ถึงกึ่งกลางของกระดาษที่พับไว้ แต่แถวที่ 4-5 ให้นักศึกษาตักหระดาษไม่ถึงกึ่งกลางของกระดาษ แล้วให้นักศึกษาออกมาโยน ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง?
เมื่อเพื่อนแตละแถวออกมานำเสนอ ดิฉันก็ได้สังเกตุพบว่า แถวที่1-3 ที่พับกระดาษถึงจุดกึ่งกลาง ผลที่ออกมาคือ เมื่อโยนขึ้นไปในอากาศสิ่งที่เห็นคือเมื่อเวลากังหันตกลงมาจะเป็นเกลียวหมุนๆลงมาถึงพื้น แต่เมื่อดิฉันสังเกตแถวที่ 4-5 ที่ตัดกระดาษไม่ถึงครึ่งนั้น พบว่า เมื่อโยนกังหันขึ้นไปในอากาศ จะเห็นว่าเมื่อเวลากังหันตกลงมาจะไม่ค่อยหมุนเป็นรูปเกลียว
สิ่งที่พบว่าเพราะว่าแถวที่ตัดกระดาษถึงครึ่งนั้นเมื่อเวลาโยนไปในอากาศแล้วหล่นลงมาจะเกิดอากาศดันใต้กระดาษ ทำให้เวลาหล่นลงมาอากาศจะดันทำให้หมุนเป็นเกลียวๆ
บทความของเพื่อนที่ออกมานำเสนอ
เรื่องที่1 วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ของ นางสาวมธุรินทร์ อ่อนพิมพ์
การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการสอนข้อความรู้ ซึ่งต่างจากการสอนให้รู้ข้อความรู้ตรงที่การสอนข้อความรู้ต้องการความสนใจ การสังเกต การจำ และการเรียกความจำจากความเข้าใจถ่ายโยงได้ ไม่ใช่การท่องจำซึ่งตรงกับการเรียนวิทยาศาสตร์ที่เป็นการเรียนรู้จากการให้คิดและมีเหตุผล เกิดการเข้าใจมโนทัศน์ เชื่อสานข้อมูลประยุกต์ และสรุปเป็นข้อความรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งในการเรียนวิทยาศาสตร์เด็กต้องพัฒนาทักษะการคิดเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปให้ได้ ตัวอย่าง เช่น เด็กเรียนเรื่องเต่ากับหนู โดยการศึกษาเปรียบเทียบ ค้นหาข้อแตกต่างและข้อเหมือน และนำไปสู่ข้อสรุปว่า เต่ามีลักษณะอย่างไร หนูมีลักษณะอย่างไร (Hendrick, 1998 : 42) ดังนั้นการเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจึงมิใช่การสอนให้รู้ข้อความรู้ เพราะเด็กไม่สามารถรับความรู้นามธรรมได้ เด็กปฐมวัยต้องเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากประสบการณ์
เรื่องที่ 2 การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ของ นางสาวบุษราคัม สะรุโณ
วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ ตลอดชีวิตของทุกคนต่างก็มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญที่จะทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและ มีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์ขึ้น รวมถึงการนำความรู้ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ มีเหตุผล มีคุณธรรม นอกจากนี้ยังช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ การดูแลรักษาตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็กและส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสมตามวัย
เรื่องที่3 วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ของ นางสาวจุฑาทิพย์ เขตนิมิตร
เด็กเล็กๆมีธรรมชาติที่เป็นผู้ความอยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไรสามารถแสวงหาความรูู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเขาและเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่ เด็กสามารถสังเกตและสื่อสารเกี่ยวเรื่องดิน หิน อากาศและท้องฟ้า เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ พลังงานจากแม่เหล็ก แสงและเสียง เด็กสามารถสำรวจลักษณะของน้ำและความร้อน สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กปฐมวัยเริ่มการทำงานทางวิทยาศาสตร์ เด็กสามารถแก้ปัญหาต่างๆโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้มากมาย กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาโดยทำให้เด็กได้รับความรู้ พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่น การสังเกต การจำแนกประเภท การเรียงลำดับ การวัด การคาดคะแน และการสื่อสาร รวมทั้งทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กสนใจวัตถุและเหตุการณ์ เด็กเล็กมีวิธีการเรียนรู้คล้ายนักวิทยาศาสตร์สามารถทำงานด้วยทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และพัฒนาการทางอารมณ์เช่นเด็กมีความรู้สึกและเจตคติทางบวก
เรื่องที่4 สอนลูกเรื่องอากาศ ของ นางสาวพรวลัญช์ คงสัตย์
เด็กปฐมวัยเป็นวัยอยากรู้อยากเห็น ช่างสงสัย เด็กมักจะมีคำถามอยู่เสมอ ว่าสิ่งนั้นคืออะไร ทำไมเป็นเช่นนั้น เรารู้ได้อย่างไร เมื่อเด็กมีความสนใจธรรมชาติรอบตัว คำถามที่ต้องการให้ผู้ใหญ่ตอบมีหลายเรื่อง รวมทั้งสิ่งที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น คืออากาศ เด็กมีคำถามเสมอว่า อากาศ คืออะไร มาจากไหน ทำไมหนูจับไม่ได้ วันนี้หนูอยากอาบน้ำเพราะร้อนมาก ๆ ทำไมเป็นอย่างนั้น หนูชอบวิ่งเล่นใต้ต้นไม้ เพราะเย็นกว่าในห้อง ทำไมเป็นเช่นนั้น ทำไมบางครั้งลมพัดเร็วมากจนโค่นต้นไม้หักลงมาได้ ทำไมลมพัดเร็วช้าไม่เหมือนกัน ลมพัดได้เร็วเพียงใด คำถามที่น่าสนใจของเด็ก จึงควรนำมาจัดเป็นกิจ กรรมเรียนรู้สำหรับเด็ก เรื่องอากาศ เพื่อพัฒนาความสามารถของเด็ก และเมื่อเด็กได้รับการตอบสนองให้สืบค้นหาคำตอบ เด็กจะรู้สึกสบายใจที่ได้รับการตอบสนอง จึงเป็นการพัฒนาการทางอารมณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็กอีกด้วย
นอกจากนี้อาจารย์ยังอธิบายถึง หน่วยการเรียนรู้ของแต่ละ
การประยุกต์ใช้
- สามรถนำสื่งประดิษฐิ์ที่อาจารย์มาสอน มาเป็นเทคนิคให้นักศึกษา สามรถกนำไปใช้ในอาตคได้
-สามรถสอนเด็กในอยาคตเกี่ยวกับเด็กปฐมวัยได้เป็นอย่าง
-เข้าใจเกี่ยวกับวิทยาศาตร์สำหรับปฐมวัยได้มากขึ้น
การประเมิน
ประเมินตนเอง: เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อง ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์มอบหมาย ฟังเพื่อนนำเสนอ และตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทความ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนมาเรียนตรงเวลา แต่งกาย้รียบร้อย จั้งใจทำกิจกรรม และออกมานำเสนอ ้พื่อนๆมรความสุขในการทำกิจกรรม และัเพท่อนก็มีความสุกสนานในการเรียนมาก
ประเมินอาจารย์ : ในการเรียนการสอน อาจารย์มีเทคนิกหลายๆอย่างมาสอนนักศึกษาได้ดีมาก มีกิจกรรมให้นักศึกษา และสอนอธิบายให้นัศึกษาได้เข้าใจ พร้อใยกตัวอย่างให้นักศึกษาเพื่อเป็นแนวทาง ให้กับนักศึก ได้ดีมา การสอนของอาจรย์สนุกสนาน บรรยากาศในห้องเรียนมีความสุน ไม่มีอารมตึงเครียด เพราะอาจารย์สอนโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในห้องเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น