Recent Posts
Science Experiences Management For Early Childhood
Teacher Jintana Suksamran
12 September 2014
เนื้อหา
เพื่อนนำเสนอบทความวิทยาศาสตร์
1. บทความเรื่อง สอนลูกเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติ (Natural Phenomena)
ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ (Natural phenomena) หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มนุษย์ไม่ได้เป็นผู้สร้างขึ้น แต่มีผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์โดยตรง เช่น ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า รุ้งกินน้ำ กลางวัน กลางคืน ภาวะโลกร้อน รวมไปถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติบางอย่างที่นานๆครั้งจะปรากฎให้เห็น เช่น สุริยุปราคา จันทรุปราคา ฝนดาวตก การเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ ปรากฏการณ์ธรรมชาติเป็นเรื่องหนึ่งที่เด็กควรเรียนรู้ในสาระธรรมชาติรอบตัว ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 เพื่อฝึกทักษะการคิดแบบวิทยาศาสตร์โดยผ่านกิจกรรมการทดลอง การปฏิบัติจริงจากสถานการณ์จริง หรือสถานการณ์ที่สร้างขึ้นทั้งภายในห้องเรียน และขณะอยู่กับพ่อแม่ที่บ้าน
ความเปลี่ยนแปลง (Change) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงควรให้เด็กเรียนถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ
ความหลากหลาย (Variety) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มีความคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกัน จึงควรให้เด็กเรียนรู้คว ามเหมือนและความแตกต่างของสิ่งต่างๆ
การปรับตัว (Adjustment) ทุกสิ่งทุกอย่างจะมีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ครูจึงควรสอนให้เด็กได้สังเกตลักษณะของสิ่งนี้ เช่น จิ้งจกจะเปลี่ยนสีตามผนังที่เกาะ เป็นต้น
การพึ่งพาอาศัยกัน (Mutuality) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เช่น นกเอี้ยงกับควาย ดังนั้น ครูจึงต้องให้เด็กเห็นธรรมชาติของสิ่งนี้
ความสมดุล (Equilibrium) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะต้องต่อสู้เพื่อรักษาชีวิต และปรับตัวเพื่อให้ได้สมดุล และมีการผสานกลมกลืนกันเช่น ปลาอยู่ในน้ำ นกบินได้ ปลาใหญ่ย่อมกินปลาเล็ก สัตว์แข็งแรงย่อมกินสัตว์ที่อ่อนแอ สัตว์ที่อ่อนแอต้องมีอาวุธพิเศษบางอย่างไว้ป้องกันตัว เป็นต้น เด็กควรมีความเข้าใจธรรมชาติของสิ่งนี้ เพื่อให้ตนเองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติสามารถรักษาสมดุลไว้ได้
ความเปลี่ยนแปลง (Change) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงควรให้เด็กเรียนถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ
ความหลากหลาย (Variety) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มีความคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกัน จึงควรให้เด็กเรียนรู้คว ามเหมือนและความแตกต่างของสิ่งต่างๆ
การปรับตัว (Adjustment) ทุกสิ่งทุกอย่างจะมีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ครูจึงควรสอนให้เด็กได้สังเกตลักษณะของสิ่งนี้ เช่น จิ้งจกจะเปลี่ยนสีตามผนังที่เกาะ เป็นต้น
การพึ่งพาอาศัยกัน (Mutuality) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เช่น นกเอี้ยงกับควาย ดังนั้น ครูจึงต้องให้เด็กเห็นธรรมชาติของสิ่งนี้
ความสมดุล (Equilibrium) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะต้องต่อสู้เพื่อรักษาชีวิต และปรับตัวเพื่อให้ได้สมดุล และมีการผสานกลมกลืนกันเช่น ปลาอยู่ในน้ำ นกบินได้ ปลาใหญ่ย่อมกินปลาเล็ก สัตว์แข็งแรงย่อมกินสัตว์ที่อ่อนแอ สัตว์ที่อ่อนแอต้องมีอาวุธพิเศษบางอย่างไว้ป้องกันตัว เป็นต้น เด็กควรมีความเข้าใจธรรมชาติของสิ่งนี้ เพื่อให้ตนเองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติสามารถรักษาสมดุลไว้ได้
2. บทความสอนลูกเรื่องสัตว์ (Animals)
โดยบทความของ นางสาวอรุณี พระนารินทร์
การสอนเรื่องสัตว์ให้แก่เด็กปฐมวัย จะเกิดประโยชน์ต่อเด็กในด้านต่างๆ ดังนี้
ด้านร่างกาย เด็กจะได้เคลื่อนไหวร่างกายประกอบจังหวะ เลียนแบบท่าทางของสัตว์ต่างๆ ได้ออกกำลักายกลางแจ้งผ่านเกมการละเล่นเกี่ยวกับสัตว์ เช่น แม่งู ลิงชิงบอล วิ่งเปี้ยว เป็นต้น ด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กจะได้ทดลองให้อาหารสัตว์ เล่าถึงสัตว์เลี้ยงของตนเอง เป็นการปลูกฝังความเอื้อเฟื้อ ความมีน้ำ ใจ เมตตากรุณาต่อสัตว์ และการฟังนิทานเกี่ยวกับสัตว์อันเป็นการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น นิทานอีสปด้านสังคม เด็กจะเรียนรู้การทำกิจกรรมร่วมกันกับเพื่อน และการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ด้านสติปัญญา เด็กจะได้รู้จักการดำรงชีวิตของสัตว์ชนิดต่างๆ อาหารของสัตว์ ลักษณะประเภทของสัตว์ต่างๆ
3.บทความสอนลูกเรื่องพืช
โดยบทความของนางสาวอารียา เอี่ยมโพธิ์
การเรียนรู้เรื่องพืชสามารถส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ดังนี้
ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย การจัดกิจกรรมให้เด็กเคลื่อนไหวร่างกายเป็นต้นไม้ที่ถูกลมพัดโอนเอน ทำให้เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกายทางด้านการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ เช่น แขน ขา ลำตัว และการทรงตัว เป็นต้น กิจกรรมสร้างสรรค์ที่เด็กนำเมล็ดพืชมาปะติดลงในกระดาษ ทำให้เด็กได้ใช้กล้ามเนื้อเล็กในด้านการประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อมือกับตา หรือการทำรถลากจากไม้ แล้วให้เล่นแข่งรถกัน การวิ่งผลัดส่งดอกไม้ ทำให้เด็กได้วิ่งออกกำลังกาย
ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์ จิตใจ ทำให้เด็กรู้สึกผ่อนคลายทางด้านอารมณ์และความรู้สึกด้วยการร้อยดอกไม้ การให้เด็กเคลื่อนไหวร่างกายตามจินตนาการกับดอกไม้ ทำให้เด็กสนุกสนาน และส่งเสริมการจินตนาการด้านการเคลื่อน ไหว
ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสังคม การเรียนรู้เรื่องผักด้วยการได้ประกอบอาหารร่วมกันกับเพื่อน ทำให้เด็กเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่น เรียนรู้การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม บทบาทหน้าที่ของตนเอง ความรับผิดชอบต่อกลุ่ม การอดทนรอคอย และความมีวินัย ส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมทางสังคมที่ดี และยังส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในด้านต่างๆ เช่น ความมีวินัย ความเอื้อเฟื้อ ความมีน้ำใจ เป็นต้น
ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา การจัดกิจกรรมให้เด็กทดลองปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ เด็กจะได้พัฒนาทักษะพื้น ฐานทางด้านคณิตศาสตร์ จากการวัดส่วนสูงของพืชที่ปลูกเป็นรายสัปดาห์ การนับจำนวนดอกไม้ การคาดคะเน และเรื่องของเวลาที่ใช้การปลูก ส่วนทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์เด็กจะได้เรียนรู้จากการสังเกตการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงของพืช การจำแนกสีของดอกไม้ นอกจากนี้กิจกรรมการเพาะปลูกพืชที่ให้เด็กปลูกร่วมกันเป็นกลุ่ม ยังส่งเสริมทักษะในการแก้ปัญหาเป็นกลุ่มให้กับเด็กได้ ส่วนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ การให้เด็กนำดอกไม้มาปะติดลงในกระดาษตามจินตนาการ จะช่วยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวางแผน คิดจินตนาการและสามารถสร้างชิ้นงานให้มีความแปลกใหม่ซึ่งเป็นการพัฒนาด้านการคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็ก นอกจากนี้ การเล่นเกมอนุกรมภาพต้นไม้ ดอกไม้ ทำให้เด็กพัฒนาในด้านการคิดอย่างมีเหตุผลได้
-จากบทความของเพื่อน ทั้ง3บทความ สามารถประยุกต์ใช้ในการเรียน และสมารกนำไปใช้ในอนาคตได้ฝึกสอนได้อย่างดี และสามรถเอาความรู้ไปเผยแพร่ให้กับผู้ปกครองได้ อีกด้วย
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจฟังเพ่อนนำเสนอ และช่วยกันตอบคำถาม เพื่อนๆมาเรียนตรงเวลา
ประเมินตนเอง :ตั้งใจเพื่อนนำเสนอบทความ และตั้งใจจดบันทึกสิ่งที่เพื่อนนำเสนอ มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม มาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย
ประเมินอาจารย์ผูเสอน : อาจารย์ได้อธิบายบทความของเพื่อนได้ละเอียด ทำให้ดิฉันและเพ่อนในห้อง ได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น อาจารย?ยังยังตัวอย่างประกอบ เพื่อให้นักศึกษาได้เห็นภาพได้ชัด และเข้าใจมากยิ่งขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น