วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Lesson 9

Recent Posts

Science Experiences Management for Early Childhood

17 October 2014
Time 13:00 to 16:40 pm.



ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้อาจารย์สอน การเขียนแผนประสบการณ์ ของวิชาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ดังนี้
การเลือกหัวข้อเรื่อง : ควรเลือกบริบทและสภาพแวดล้อมหรือเป็นเรื่องใกล้ตัว
ความสัมพันธ์ 2 แกน : เกมเมตริก
เคลื่อนไหว : ร้องเพลง
ศิลปะ : ประดิษฐ์ วาดภาพ
เสริมประสบการณ์ : เล่านิทาน
กิจกรรมกลางแจ้ง - กิจกรรมเสรี : การปลูกกะหล่ำปลี

ประสบการณ์ คือ การแสดงความรู้
ด้านสติปัญญา : การคิดเชิงเหตุผล
วิทยาศาสตร์ : การทดลอง การสังเกต การคิดวิเคราะห์ 
คณิตศาสตร์ : การนับจำนวน เลขอารบิก เลขไทย การชั่ง การตวง 
ภาษา : กระบวนการคิด

วิธีในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ขั้นนำ 
- อาจจะใช้กิจกรรมในการกระตุ้นให้เด็กสนใจที่อยากเรียนในสิ่งที่ครูสอน เช่น การนำเข้าสู่บทเรียนด้วยการร้องเพลง ภาพตัดต่อ เกม นิทาน เป็นต้น

ขั้นสอน 
- ใช้คำถามกับเด็ก เพื่อให้เด็กเกิดความจำ และมีการคิดวิเคราะห์ในคำถามนั้นๆ คำถามควรเป็นคำถามที่เป็นปลายเปิด (อย่างไร เมื่อไหร่ )ไม่ควรเป็นคำถามที่เป็นปลายปิด (ใช่หรือไม่) และจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับหัวข้อที่จะสอนเด็ก

ขั้นสรุป
- เป็นการทบทวนความรู้ที่เด็กได้เรียนมาแล้วด้วยการ ถามคำถามจากสิ่งที่เด็กได้เรียนรู้ เพื่อเป็นการทบทวนความรู้และความจำ

การวัดและการประเมินผล : ใช้แบบสังเกต คำตอบ ผลงาน ระหว่างทำกิจกรรม ว่าตรงตามวัตถุประสงค์ที่เราตั้งไว้หรือไม่


ประยุกต์ใช้ได้อย่างไร
- สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ของแต่ละวิชาได้ เพื่อให้เด็กได้ทำกิจกรรมตรงตามวัตถุประสงค์ที่เราตั้งไว้
- สามารถนำแนวทางการเขียนแผนไปปรับใช้ในรายวิชาอื่นๆได้ เช่น การเคลื่อนไหว กิจกรรมกลางแจ้ง ศิลปะสร้างสรรค์
- ทำให้เข้าใจวิธีการเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิชา วิทยาศาสตร์มากขึ้น

การประเมิน

ประเมินตนเอง: ตั้งใจอาจารย์อธิบายและสอนแผนการจัดประสบการณ์ มาเรียนตรงเลา แต่งกายเรียบร้อย

ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียน และฟังอาจารย์สอน ร่วมกิจกรรม

ปะมินอาจารย์ : อาจารย์สอนอธิบายแผนได้เข้าใจมาก และยกตัวอย่างประกอบเพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจมากขึ้น เมื่อนักศึกษาไม่เข้าใจตรงไหนอาจารย์ก็จะอธิบายใหม่ให้ฟังพร้องยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เห็นภาพได้ชัด




วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Lesson 8

Recent Posts

Science Experiences Management for Early Childhood

10 October 2014
Time 13:00 to 16:40 pm.



Today there is not teaching of Midterms.


Lesson 7


Recent Posts

Science Experiences Management for Early Childhood

3 October 2014

Time 13:00 to 16:40 pm.

ความรู้ที่ได้รับ

ในการเรียนการสอนวันนี้ อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำกิจกรรมสิ่งประดิษฐื์

อุุปกรณ์

1.สีเมจิก
2.กระดาษ
3.แกนทิชชู
4.ใหมพรหม


ขั้นตอนวิธีการทำ

1.ตัดแกนทิชชูออกเป็น 2 ส่วน



2.นำแกนทิชชูมาเจาะรูด้านข้าง 2 รู ด้วยที่เจาะกระดาษ


3.นำไหมพรม ความยาว 1 ช่วงแขนมาร้อยใส่ลงไปในรูของแกนทิชชูทั้ง 2 รู

4.วาดสัตว์ที่ชอบลงไป 1 ภาพในวงกลม ระบายสีให้สวยงาม แล้วตัดให้เป็นวงกลมแล้วนำมาตอดกับแกนชิชชู


วิธีเล่น

-นำไปคล้องคอแล้วใช้มือทั้งสองข้าง ชักขึ้น-ลง เพื่อให้รูปสัตว์เคลื่อนไหวขึ้น-ลงได้
จากการสังเกตพบว่า เมื่อชักเชือกขึ้น-ลงๆโดยที่ไม่ก้างไหมพรมออก ภาพสัตว์ก็จะไม่ขึ้นสุดไปถึงคอ แต่เมื่อเราก้างไหมพรมออกแล้วชักขึ้น-ลง ปรากฎว่า ภาพสัตว์สามารถเลื่อนขึ้น-ลงได้


การนำเสนอบทความ

เรื่องที่ 1 สอนลูกเรื่องแสงและเงา (Teaching Children about Light and Shadow) อ้างอิง


     การสอนลูกเรื่องแสงและเงา (Teaching Children about Light and Shadow) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับแสง ซึ่งเป็นพลังงานรูปแบบหนึ่งที่สิ่งมีชีวิตรับรู้ได้ด้วยตา เป็นเหตุให้มองเห็นสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเราได้และเงา ซึ่งหมายถึง รูปร่างของวัตถุที่แสงผ่านทะลุไม่ได้ ทำให้แลเห็นเป็นเงาตามรูปร่างของวัตถุนั้นเด็กจะได้เรียนรู้ถึงแหล่งกำเนิดแสง หรือสิ่งที่ปล่อยแสงออกมา ได้แก่ดวงอาทิตย์ ที่เป็นแหล่งกำเนิดแสงธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดสัตว์และพืชบางชนิดมีแสงการเผาไหม้ของวัตถุบางชนิด เช่น พืช แก๊ส เทียนไข น้ำมัน ฯลฯ ทำให้เกิดแสงแสงบางชนิดมนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้น เช่น แสงไฟฟ้า ไฟฉาย กล้องถ่ายรูป ฯลฯ
     แสงจากดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว แสงจากพืชและสัตว์บางชนิด และแหล่งกำเนิดแสงอื่นๆที่คนเราทำขึ้น เช่น จากการจุดไฟ เปิดไฟฟ้า เรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกและจักรวาล และเป็นประโยชน์ที่ทำให้คนเราดำรงชีวิตอยู่ได้ เพราะมีแสงสว่างช่วยให้คนเรามองเห็น และแสงทำให้เกิดเงา ร่มเงาก็เป็นประโยชน์สำหรับสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย ได้อาศัยคลายร้อน ในขณะเดียวกัน หากไม่รู้ถึงโทษของสิ่งเหลานี้ ก็จะทำให้เกิดอันตรายจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น การที่เด็กๆเพ่งมองดวงอาทิตย์ที่ส่องแสงแรงจ้า ก็จะเป็นอันตรายแก่สายตา หรือการที่ปล่อยให้แสงแดดแผดเผาผิวกาย ก็เป็นอันตรายต่อผิวหนังคือ เกิดแผลไหม้เกรียม แสงอาจเกิดจากการเผาไหม้ของวัตถุเช่น เทียน แก๊ส น้ำมัน พืช แสงเหล่านี้อาจเกิดการเผาไหม้เองตามธรรมชาติ และเกิดจากมนุษย์ทำให้เกิด เมื่อเกิดแล้ว จะทำให้มลภาวะเป็นพิษในโลกนี้ ดังนั้น ธรรมชาติเรื่องแสงและเงาเป็นเรื่องใกล้ตัว อยู่ในชีวิตประจำวันของเรา จึงควรได้จัดประสบการณ์ให้แก่เด็กปฐมวัย

เรื่องที่ 2 การสอนเรื่องแรงโน้มถ่วง (Teaching Children about Gravity) อ้างอิง


       การสอนลูกเรื่องแรงโน้มถ่วง (Teaching Children about Gravity) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับแรงที่โลกกระทำต่อวัตถุทุกชิ้น ดึงวัตถุในทิศทางเข้าสู่ศูนย์กลางของโลก ทำให้วัตถุยึดติดกับพื้นโลก มิให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่บนผิวโลกหรือบรรยากาศของโลกหลุดลอยไปในอากาศได้ ทั้งนี้ เด็กปฐมวัยมีนิสัยสงสัยใคร่รู้เป็นโดยธรรมชาติ การที่เด็กมองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว และเกิดเรื่องราวให้ชวนคิด ชวนให้สงสัยมีมากมาย รวมทั้งคำถามว่า “อะไรที่ทำให้เรายืนอยู่บนพื้นโลกได้โดยไม่ปลิวหายไปในอากาศ” และ “มีใครบ้างที่อยู่ใต้พื้นโลก เขาหล่นหายไปหรือไม่” คำถามของเด็กมีคำ ตอบ แต่หากผู้ใหญ่บอกเล่าเพียงให้เด็กทราบว่า ที่เป็นเช่นนี้เพราะโลกมีแรงโน้มถ่วง การบอกเช่นนั้นไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย เพราะเด็กบอกไม่เห็นแรงโน้มถ่วง แต่หากเด็กได้มีโอกาสตรวจสอบเรื่องนี้จากกิจกรรมง่ายๆ ที่ครูหรือพ่อแม่จัดให้เด็กได้กระทำ จนเกิดเป็นความเข้าใจในเหตุและเห็นผลสอดคล้องกัน จะเป็นการส่งเสริมความคิด ทัศนคติที่ดีและเกิดทักษะที่จำเป็นในการแสวงหาความรู้ต่อๆไปอีกให้แก่เด็ก การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เด็กเรื่องแรงโน้มถ่วงจึงเป็นเรื่องหนึ่งที่เด็กปฐมวัยควรเรียนรู้

เรื่องที่ 3 การพัฒนาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย อ้างอิง


   การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย สามารถส่งเสริมได้หลายวิธี และวิธีหนึ่งที่สามารถส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กได้คือ การจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร ซึ่งเป็นหนึ่งกิจกรรมที่เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เด็กได้เรียยนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการสังเกต การทดลอง การดมกลิ่น ชิมรสอาหาร ในขณะที่ดำเนินกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร 
   เด็กได้สังเกตการเปลี่ยนแปลงของอาหาร ได้เรียนรู้การเปรียบเทียบ การชั่ง การตวง การวัดสิ่งต่างๆด้วยตนเอง และได้เรียนรู้กระบวนการทำงาน ตั้งแต่การวางแผนไปจนถึงการทำความสะอาดอุปกรณืและสถานที่ในการทำ ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้และเข้าในในการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ จนสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาความคิดและการสื่อความหมาย โดยครูมีบทบาทในการจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศในการเรียนรู้ จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ และใช้คำถามเชิงเปรียบเทียบเพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ การสังเกต การจำแนก การวัดและการสื่อความหมายข้อมูล

เรื่องที่ 4 การสอนลูกเรื่องไฟฉาย (Teaching Children about Flashlight) อ้างอิง


    การสอนลูกเรื่องไฟฉาย(Teaching Children about Flashlight) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับ เครื่องทำความสว่างประกอบด้วยอุปกรณ์สำคัญคือ จานฉายรูปโค้งสำหรับสะท้อนแสงและหลอดไฟฟ้า ซึ่งบรรจุอยู่ในเรือนกรอบกับสิ่งให้พลังงานที่ก่อให้เกิดแสงสว่าง และหลอดไฟซึ่งบรรจุอยู่ในกรอบกับสิ่งให้พลังงานก่อให้เกิดแสงสว่าง มีหลายชนิด ชนิดที่ถือติดตัวไปมาได้มักทำในรูปกระบอก ทั้งนี้เพราะการจัดสิ่งแวดล้อมที่ดีเป็นเรื่องจำเป็นในการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เจริญเติบโตเป็นเด็กที่มีคุณภาพ กล่าวคือเป็นผู้ที่พัฒนาทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและสติปัญญาได้อย่างเหมาะสมตามวัย ในยุคปัจจุบันสิ่งแวดล้อมสำหรับเด็กปฐมวัยเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะความก้าวหน้าทางวิทยาการด้านเทคโนโลยี มีผลให้เกิดมีเครื่องใช้ที่จำเป็นและอำนวยความสะดวกสบายให้คนเรา ดังนั้น การสร้างความรู้ ความเข้าใจ และวิธีใช้เครื่องเทคโนโลยีบางชนิดให้แก่เด็กปฐมวัยจึงเป็นเรื่องจำเป็น ดังเช่น ไฟฉาย ที่คนเราสร้างสรรค์ขึ้น มา เป็นเครื่องใช้ที่ให้แสงสว่างซึ่งเป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นการนำเรื่องไฟฉายมาจัดกิจกรรมให้แก่เด็กปฐมวัยจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร



การประยุกต์ใช้


  • - สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาพื้นฐานทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างดี
  • - สามารถนำความรู้ที่ได้ไปจัดเป็นประสบการณ์ให้เด็กได้ศึกษา ทดลองเล่น สังเกต เพื่อฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ได้อีกด้วย
  • -สามารถจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และครูสาธิตให้เด็กได้ดู แล้วให้เด็กลองทำ
  • -ฝึกทักษะให้เด็กได้ลองคิดและลงมือกระทำ เพื่อฝึกทักษะพัฒนาการของเด็กได้อีกด้วย
การประเมิน

ประเมินตนเอง : ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ พร้อมฟังคำชี้แนะของอาจารย์เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข
ประเมินเพื่อน : เพื่อนให้ความร่วมมือในกิจกรรมดี นำเสนอบทความด้วยเข้าใจ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนการทำสิ่งประดิษฐ์ที่ง่ายและเข้าใจง่าย เหมาะที่จะนำความรู้ที่ได้จากสิ่งประดิษฐ์ไปใช้ในการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยได้ และอาจารย์อธิบายและยกตัวอย่างบทความของเพื่อนได้อย่างชัดเจน



  


วันพุธที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Lesson 6

Recent Posts
Science Experiences Management for Early Childhood

26 September 2014
Time 13:00 to 16:40 pm


ความรู้ที่ได้รับ
ในการเรียนการสอนวันนี้ อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำกิจกรรม เป็นสื่อสิ่งประดิษฐิ์  "กังหันมหรรศจรรย์"

อุปกรณ์

1.กระดาษ
2.กรรไกร
3.คลิปหนีบกระดาษ

ขั้นตอนวิธีการทำ 

-พับกระดาษที่อาจารย์ได้เตรียมไว้ให้ หลังจากนั้นพับครึ่งกระดาษให้เท่ากัน
-จากนั้นคลี่กระดาษออก แล้วนำกรรไกรตัดกระดาษตามแนวยาวถึงที่พับครึ่ง
-แล้วพับกระดาษแถบที่ไม่ได้ตัดเข้าไปนิดนึง

-นำคลิปหนีบกระดาษมาติด


สิ่งที่ได้รับจากการทำกิจกรรม ประดิษฐิ์สื่อ "กังหันมหรรศจรรย์ "

      จากการทำกิจกรรมเสร็จสิ้นแล้ว อาจารย์ได้ให้นักศึกษาออกมาสาธิตการนำเสนอของชิ้นงานของตัวเองมาผลออกมาอย่างไร? แตกต่างกับของเพื่อนใหม? โดยให้นักศึกษาโยนโยนขึ้บบนอากาศ แล้วให้นักศึกษาสังเกตุโดยการหมุนของกังหัน ว่าของนักศึกษา แต่ละคนหมุนย่างไร? 

      โดยนักศึกษาแถวที่ 1-3 ตัดกระดาษให้ถึงกึ่งกลางของกระดาษที่พับไว้ แต่แถวที่ 4-5 ให้นักศึกษาตักหระดาษไม่ถึงกึ่งกลางของกระดาษ แล้วให้นักศึกษาออกมาโยน ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง?

     เมื่อเพื่อนแตละแถวออกมานำเสนอ ดิฉันก็ได้สังเกตุพบว่า แถวที่1-3 ที่พับกระดาษถึงจุดกึ่งกลาง ผลที่ออกมาคือ เมื่อโยนขึ้นไปในอากาศสิ่งที่เห็นคือเมื่อเวลากังหันตกลงมาจะเป็นเกลียวหมุนๆลงมาถึงพื้น แต่เมื่อดิฉันสังเกตแถวที่ 4-5 ที่ตัดกระดาษไม่ถึงครึ่งนั้น พบว่า เมื่อโยนกังหันขึ้นไปในอากาศ จะเห็นว่าเมื่อเวลากังหันตกลงมาจะไม่ค่อยหมุนเป็นรูปเกลียว

   สิ่งที่พบว่าเพราะว่าแถวที่ตัดกระดาษถึงครึ่งนั้นเมื่อเวลาโยนไปในอากาศแล้วหล่นลงมาจะเกิดอากาศดันใต้กระดาษ ทำให้เวลาหล่นลงมาอากาศจะดันทำให้หมุนเป็นเกลียวๆ


ทความของเพื่อนที่ออกมานำเสนอ

เรื่องที่1 วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ของ นางสาวมธุรินทร์ อ่อนพิมพ์

     การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการสอนข้อความรู้  ซึ่งต่างจากการสอนให้รู้ข้อความรู้ตรงที่การสอนข้อความรู้ต้องการความสนใจ  การสังเกต  การจำ  และการเรียกความจำจากความเข้าใจถ่ายโยงได้  ไม่ใช่การท่องจำซึ่งตรงกับการเรียนวิทยาศาสตร์ที่เป็นการเรียนรู้จากการให้คิดและมีเหตุผล  เกิดการเข้าใจมโนทัศน์  เชื่อสานข้อมูลประยุกต์  และสรุปเป็นข้อความรู้ได้ด้วยตนเอง  ซึ่งในการเรียนวิทยาศาสตร์เด็กต้องพัฒนาทักษะการคิดเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปให้ได้  ตัวอย่าง  เช่น  เด็กเรียนเรื่องเต่ากับหนู  โดยการศึกษาเปรียบเทียบ  ค้นหาข้อแตกต่างและข้อเหมือน  และนำไปสู่ข้อสรุปว่า  เต่ามีลักษณะอย่างไร  หนูมีลักษณะอย่างไร  (Hendrick,  1998  :  42)  ดังนั้นการเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจึงมิใช่การสอนให้รู้ข้อความรู้  เพราะเด็กไม่สามารถรับความรู้นามธรรมได้  เด็กปฐมวัยต้องเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากประสบการณ์

รื่องที่ 2 การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ของ นางสาวบุษราคัม สะรุโณ 

    วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ ตลอดชีวิตของทุกคนต่างก็มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น  การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญที่จะทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและ มีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์ขึ้น รวมถึงการนำความรู้ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ มีเหตุผล มีคุณธรรม นอกจากนี้ยังช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ การดูแลรักษาตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน 
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็กและส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสมตามวัย

เรื่องที่3 วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ของ นางสาวจุฑาทิพย์ เขตนิมิตร


   เด็กเล็กๆมีธรรมชาติที่เป็นผู้ความอยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไรสามารถแสวงหาความรูู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเขาและเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่ เด็กสามารถสังเกตและสื่อสารเกี่ยวเรื่องดิน หิน อากาศและท้องฟ้า เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ พลังงานจากแม่เหล็ก แสงและเสียง เด็กสามารถสำรวจลักษณะของน้ำและความร้อน สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กปฐมวัยเริ่มการทำงานทางวิทยาศาสตร์ เด็กสามารถแก้ปัญหาต่างๆโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้มากมาย กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาโดยทำให้เด็กได้รับความรู้ พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่น การสังเกต การจำแนกประเภท การเรียงลำดับ การวัด การคาดคะแน และการสื่อสาร รวมทั้งทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กสนใจวัตถุและเหตุการณ์ เด็กเล็กมีวิธีการเรียนรู้คล้ายนักวิทยาศาสตร์สามารถทำงานด้วยทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และพัฒนาการทางอารมณ์เช่นเด็กมีความรู้สึกและเจตคติทางบวก

เรื่องที่4 สอนลูกเรื่องอากาศ ของ นางสาวพรวลัญช์ คงสัตย์



     เด็กปฐมวัยเป็นวัยอยากรู้อยากเห็น ช่างสงสัย เด็กมักจะมีคำถามอยู่เสมอ ว่าสิ่งนั้นคืออะไร ทำไมเป็นเช่นนั้น เรารู้ได้อย่างไร เมื่อเด็กมีความสนใจธรรมชาติรอบตัว คำถามที่ต้องการให้ผู้ใหญ่ตอบมีหลายเรื่อง รวมทั้งสิ่งที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น คืออากาศ เด็กมีคำถามเสมอว่า อากาศ คืออะไร มาจากไหน ทำไมหนูจับไม่ได้ วันนี้หนูอยากอาบน้ำเพราะร้อนมาก ๆ ทำไมเป็นอย่างนั้น หนูชอบวิ่งเล่นใต้ต้นไม้ เพราะเย็นกว่าในห้อง ทำไมเป็นเช่นนั้น ทำไมบางครั้งลมพัดเร็วมากจนโค่นต้นไม้หักลงมาได้ ทำไมลมพัดเร็วช้าไม่เหมือนกัน ลมพัดได้เร็วเพียงใด คำถามที่น่าสนใจของเด็ก จึงควรนำมาจัดเป็นกิจ กรรมเรียนรู้สำหรับเด็ก เรื่องอากาศ เพื่อพัฒนาความสามารถของเด็ก และเมื่อเด็กได้รับการตอบสนองให้สืบค้นหาคำตอบ เด็กจะรู้สึกสบายใจที่ได้รับการตอบสนอง จึงเป็นการพัฒนาการทางอารมณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็กอีกด้วย



นอกจากนี้อาจารย์ยังอธิบายถึง หน่วยการเรียนรู้ของแต่ละ





การประยุกต์ใช้


 - สามรถนำสื่งประดิษฐิ์ที่อาจารย์มาสอน มาเป็นเทคนิคให้นักศึกษา สามรถกนำไปใช้ในอาตคได้
-สามรถสอนเด็กในอยาคตเกี่ยวกับเด็กปฐมวัยได้เป็นอย่าง 
-เข้าใจเกี่ยวกับวิทยาศาตร์สำหรับปฐมวัยได้มากขึ้น 



การประเมิน

ประเมินตนเอง: เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อง ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์มอบหมาย  ฟังเพื่อนนำเสนอ และตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทความ

ประเมินเพื่อน : เพื่อนมาเรียนตรงเวลา แต่งกาย้รียบร้อย จั้งใจทำกิจกรรม และออกมานำเสนอ ้พื่อนๆมรความสุขในการทำกิจกรรม และัเพท่อนก็มีความสุกสนานในการเรียนมาก 

ประเมินอาจารย์ : ในการเรียนการสอน อาจารย์มีเทคนิกหลายๆอย่างมาสอนนักศึกษาได้ดีมาก  มีกิจกรรมให้นักศึกษา และสอนอธิบายให้นัศึกษาได้เข้าใจ พร้อใยกตัวอย่างให้นักศึกษาเพื่อเป็นแนวทาง ให้กับนักศึก ได้ดีมา การสอนของอาจรย์สนุกสนาน บรรยากาศในห้องเรียนมีความสุน ไม่มีอารมตึงเครียด เพราะอาจารย์สอนโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในห้องเรียน






Lesson 5

Recent Posts
Science Experiences Management for Early Childhood

19 September 2014

Time 13:00 to 16:40 pm.


ความรู้ที่ได้รับ



   ในการเรียนการสอนวันนี้ อาจารย์ได้ให้สื่อประสฃดิษฐิ์มาให้นักศึกษาได้จับ สังเกต สื่อที่อาจารย์นำมา ว่ามีอะไรเกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงอย่างไร หลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำกิจกรรม ซึ่งอาจารย์ได้มีอุปกรณ์ในการประกอบกิจกรรมดังนี้

อุปกรณ์
1.กระดาษ A4 สีชุมพู
2.สีเมจิก
3.กรรไกร
4.กาว
5.ไม่เสียบลูกชิ้น

ขั้นตอนการทำ
1.นำกระดาษ A4 แบ่งใก้ได้ 4ส่วน
2.แล้ววาดภาพตามจินตการที่สัมพันธ์กัน
3.หลังจากนั้นนำไม้เสียบลูกชิ้นมาติกกับกาว ไว้กึ่งกลางกับกระดาษที่วาดรูปไว้

สรุปการทำกิจกรรม
-จากการทำกิจกรรมในวันนี้ ได้เรียนรู้จากสิ่งของเล็กๆน้อย แต่สามารถมาประยุกต์ในการทำสื่อสิ่งประดิษฐิ์ให้ได้เกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างมาก  ทำให้ดิฉันได้เรียนรู้ถึงการเปลี่ยนแปลในขณะเราหมุน อย่างเช่นของดิฉันได้วาดรูป .ดอกไม้กับผีเสื้อ  เมื่อเราได้หมุนจะเกิดการเปลี่ยนแปลง เป็น ผีเสือเกาะดอกไว้  ซึ่งเป็นสื่ออุปกรณืที่เอาจารย์นำมามาสอนเป็นสิ่งที่ดีมาก 


สรุปบทความเรื่องที่1  สอนลูกเรียนปรากฏการณ์ธรรมชาติ ของ นางสาวประภัสสร หนูศิริ 




การปลูกฝังหรือเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์ให้กับเด็กในช่วงปฐมวัยจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ที่จะทำให้เด็กได้ตระหนักถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติในทางลบที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์เป็นเบื้องต้น การที่เด็กได้เรียนรู้สาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ย่อมทำให้เด็กมีลักษณะนิสัยที่รู้จักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และสามารถดำรงชีวิตแบบพึ่งพาซึ่งกันและกันได้ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลในอนาคต ซึ่งเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัวเป็นสาระที่เด็กควรเรียนรู้เกี่ยว กับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่น ฤดูกาล กลางวัน กลางคืน เป็นต้น สาระที่ควรเพื่อเตรียมความพร้อมทางด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย เป็นการส่งเสริมให้เด็กสนใจเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว เป็นความคิดรวบยอดทางกายภาพ เด็กจะได้ใช้ทักษะการสังเกต การตั้งคำถาม และการหาคำตอบ ช่วยให้เด็กได้ฝึกฝนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในลำดับขั้นสูงต่อไป ดังที่ Robert Craig ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ไว้ ประการ ที่เรียกว่า “5 Craig’s Basic Concepts” ว่าทุกสิ่งในโลกนี้จะมีลักษณะสำคัญร่วม ประการ คือ
ความเปลี่ยนแปลง (Change) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงควรให้เด็กเรียนถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ
ความหลากหลาย (Variety) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มีความคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกัน จึงควรให้เด็กเรียนรู้ความเหมือนและความแตกต่างของสิ่งต่างๆ
การปรับตัว (Adjustment) ทุกสิ่งทุกอย่างจะมีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ครูจึงควรสอนให้เด็กได้สังเกตลักษณะของสิ่งนี้ เช่น จิ้งจกจะเปลี่ยนสีตามผนังที่เกาะ เป็นต้น
การพึ่งพาอาศัยกัน (Mutuality) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เช่น นกเอี้ยงกับควาย ดังนั้น ครูจึงต้องให้เด็กเห็นธรรมชาติของสิ่งนี้
ความสมดุล (Equilibrium) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะต้องต่อสู้เพื่อรักษาชีวิต และปรับตัวเพื่อให้ได้สมดุล และมีการผสานกลมกลืนกันเช่น ปลาอยู่ในน้ำ นกบินได้ ปลาใหญ่ย่อมกินปลาเล็ก สัตว์แข็งแรงย่อมกินสัตว์ที่อ่อนแอ สัตว์ที่อ่อนแอต้องมีอาวุธพิเศษบางอย่างไว้ป้องกันตัว เป็นต้น เด็กควรมีความเข้าใจธรรมชาติของสิ่งนี้ เพื่อให้ตนเองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติสามารถรักษาสมดุลไว้ได้

สรุปบทความเรื่องที่2  สอนลูกเรื่องสัตว์ ของ นางสาวอรุณี พระนารินทร์



การสอนเรื่องสัตว์ให้แก่เด็กปฐมวัย จะเกิดประโยชน์ต่อเด็กในด้านต่างๆ ดังนี้
ด้านร่างกาย เด็กจะได้เคลื่อนไหวร่างกายประกอบจังหวะ เลียนแบบท่าทางของสัตว์ต่างๆ ได้ออกกำลักายกลางแจ้งผ่านเกมการละเล่นเกี่ยวกับสัตว์ เช่น แม่งู ลิงชิงบอล วิ่งเปี้ยว เป็นต้น ด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กจะได้ทดลองให้อาหารสัตว์ เล่าถึงสัตว์เลี้ยงของตนเอง เป็นการปลูกฝังความเอื้อเฟื้อ ความมีน้ำ ใจ เมตตากรุณาต่อสัตว์ และการฟังนิทานเกี่ยวกับสัตว์อันเป็นการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น นิทานอีสปด้านสังคม เด็กจะเรียนรู้การทำกิจกรรมร่วมกันกับเพื่อน และการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ด้านสติปัญญา เด็กจะได้รู้จักการดำรงชีวิตของสัตว์ชนิดต่างๆ อาหารของสัตว์ ลักษณะประเภทของสัตว์ต่างๆ


สรุปบทความเรื่องที่ 3 สนุกเป่ากับวิทยาศาสตร์



ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ (2552) ได้แนะนำทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยไว้ดังนี้
1 การสังเกต ตัวอย่างเช่น นำภาพรถยนต์ กับ รถบรรทุก มาวางด้วยกัน แล้วให้เด็กสังเกตดูว่ามีอะไรที่ต่างกัน และ เหมือนกัน เด็กๆอาจตอบคำถามได้หลากหลาย และบางคำตอบคุณก็อาจคิดไม่ถึงด้วยเหมือนกัน นี่เป็นเพียงแค่หนึ่งตัวอย่าง คุณอาจจะลองใช้เทคนิคอื่นก็ได้
2 การฝึกประสาทสัมผัส นอกจากการสังเกตแล้ว เรายังมี การฟัง รับรู้รส สัมผัส ดมกลิ่น ซึ่งสามารถนำมาฝึกกับเด็กๆได้ เช่น ลองนำผลไม้มาหลากหลายชนิดมา แล้วให้เด็กๆปิดตา สัมผัส ดมกลิ่น แล้วก็ชิมดู หลังจากนั้น ก็ให้เด็กๆ ทายว่าเป็นผลไม้ชนิดไหน
3 การค้นพบ “สิ่งที่น่าสนใจ”ในธรรมชาติ สิ่งนี้อาจอยู่รอบๆตัวเราก็ได้ เช่น น้องครามนั่งจองดูมดแดงเดินขบวนหนีน้ำเป็นแถว แล้วก็ถามผู้ใหญ่ว่ามดมีกี่ขา แล้วมดเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย หลังจากผู้ปกครองให้คำตอบแล้ว อาจหาหนังสือเกี่ยวกับมดมาให้เด็กได้ศึกษาเพิ่มเติม
4 การเรียนรู้ด้านสุขอนามัยและการฝึกฝนเพื่อความปลอดภัย เช่น สอนการล้างมือก่อนกินอาหาร, หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่ตกพื้น,การข้ามถนนบนทางม้าลาย
5 การคาดการณ์ที่ควรเรียนรู้ ยกตัวอย่างเช่น สภาพอากาศ ถ้ามองท้องฟ้าแล้ว มีแดดจัดมากๆ เด็กๆจะออกไปข้างนอกควรจะนำหมวกหรือร่มไปด้วย
6 การฝึกสำดับเหตุการณ์ ตัวอย่างเช่น การทำไข่เจียว อันดับแรกต้องตอกไข่ใส่ชาม หลังจากนั้นจึงตีไข่ให้ขึ้นฟู ถัดมาเตรียมตั้งกระทะใส่น้ำมัน รอจนน้ำมันร้อน แล้วจึงเทไข่ที่ตีไว้ใส่กระทะ รอให้ไข่สุก จึงตักขึ้นใส่ชาม
7 การฝึกการวัดและพัฒนาความสนใจทางคณิตศาสตร์ เช่นการวัดส่วนสูงของเด็กๆ กับ คุณพ่อ คุณแม่ ว่าใครสูงเท่ากี่ ซม. ใครสูงกว่าใคร หรือจะเป็นการชั่งน้ำหนัก การตวงสิ่งของ ในการทำกับข้าว
8 การสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ เช่นการนำกล่องนม หลอด หรือ ขวดพลาสติก มาสร้างเป็น หุ่นยนต์, ตุ๊กตา หรือ บ้าน


ประยุกต์ใช้อย่างไร

-สามรถนำเทคนิกสื่อ สิ่งประดิษฐิ์ที่ประประดิษฐ์วันนี้ เอาไปใช้สอนกับเด็กปฐมวัยได้ และเป็นสื่อที่สามารถให้เด็ได้เรียนรู้การเคลื่อนไหว และให้เด็กฝึกการสังเกตุการเปลี่ยนแปลง
-สามรถนำความรู้จากที่เพื่อนนำเสนอบทความไปประยุกต์ปรับใช้ในการสอนเด็กเด็ก หรทอให้ความรู้แก่ผู้ปกครองได้ และทำให้ดิฉันสามารถเข้าใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มากขึ้น
-สามรถนำความรู้ไปใช้ในสอนให้กับเด็กปฐมวัยในอนาคตได้เป็นอย่างดี


การประเมิน

การประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียนร้อย  และฟังเพื่อนนำเสนอบทความ และมีส่วนร่วมกับกิจกรรมและมีส่วนร่วมในการตอบคำถามที่อาจารย์ถาม และตั้งจประดิษฐ์สื่อ ที่อาจารย์ได้จัดเตรีมไว้ให้ เป็นอย่างดี

การประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียน ฟังเพื่อนนำเสนอบทความ เพื่อนมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม บรรกาศในห้องมีความสุข บรรยากาศน่าเรียนมาก มีการถามตอบ เพื่อนๆตั้งใจ ทำสื่อปแระดิษฐิ์ที่อาจารย์ได้จัดเครียมมาให้เป็นอย่างดี

การประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา อาจารย์มีเทคนิคในการสอน โดยให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการเรียน อาจารย์สอนได้สนุกมาก  สอนเทคนิกในการทำสื่อเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ สามรถนำไปปรับใช้ในอนาคตได้ด้วย และในการที่เพื่อนออกนำเสนอบทความ อาจารย์ก็ได้อธิบายเพิ่มเติมกับบทความของเพื่อน ซึ่งทำให้ดิฉันเข้าใจบทความของเพื่อนมากขึ้น อาจารย์มีการยกตัวซึ่งจะทำให้ดิฉัน มองเห็นถึงภาพและเข้าใจมากยิ่งขึ้น