วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่4


Recent Posts
Science Experiences Management For Early Childhood

Teacher Jintana Suksamran


12 September 2014
Time 13:00 to 16:40 pm.



ความรู้ที่ได้รับ

เนื้อหา




พื่อนนำเสนอบทความวิทยาศาสตร์


1. บทความเรื่อง สอนลูกเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติ (Natural Phenomena)

โดยบทความของนาวสาวประภัสสร  หนูศิริ



ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ (Natural phenomena) หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มนุษย์ไม่ได้เป็นผู้สร้างขึ้น แต่มีผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์โดยตรง เช่น ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า รุ้งกินน้ำ กลางวัน กลางคืน ภาวะโลกร้อน รวมไปถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติบางอย่างที่นานๆครั้งจะปรากฎให้เห็น เช่น สุริยุปราคา จันทรุปราคา ฝนดาวตก การเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ ปรากฏการณ์ธรรมชาติเป็นเรื่องหนึ่งที่เด็กควรเรียนรู้ในสาระธรรมชาติรอบตัว ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 เพื่อฝึกทักษะการคิดแบบวิทยาศาสตร์โดยผ่านกิจกรรมการทดลอง การปฏิบัติจริงจากสถานการณ์จริง หรือสถานการณ์ที่สร้างขึ้นทั้งภายในห้องเรียน และขณะอยู่กับพ่อแม่ที่บ้าน
     ความเปลี่ยนแปลง (Change) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงควรให้เด็กเรียนถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ  
    ความหลากหลาย (Variety) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มีความคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกัน จึงควรให้เด็กเรียนรู้คว ามเหมือนและความแตกต่างของสิ่งต่างๆ
    การปรับตัว (Adjustment) ทุกสิ่งทุกอย่างจะมีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ครูจึงควรสอนให้เด็กได้สังเกตลักษณะของสิ่งนี้ เช่น จิ้งจกจะเปลี่ยนสีตามผนังที่เกาะ เป็นต้น
   การพึ่งพาอาศัยกัน (Mutuality) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เช่น นกเอี้ยงกับควาย ดังนั้น ครูจึงต้องให้เด็กเห็นธรรมชาติของสิ่งนี้
   ความสมดุล (Equilibrium) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะต้องต่อสู้เพื่อรักษาชีวิต และปรับตัวเพื่อให้ได้สมดุล และมีการผสานกลมกลืนกันเช่น ปลาอยู่ในน้ำ นกบินได้ ปลาใหญ่ย่อมกินปลาเล็ก สัตว์แข็งแรงย่อมกินสัตว์ที่อ่อนแอ สัตว์ที่อ่อนแอต้องมีอาวุธพิเศษบางอย่างไว้ป้องกันตัว เป็นต้น เด็กควรมีความเข้าใจธรรมชาติของสิ่งนี้ เพื่อให้ตนเองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติสามารถรักษาสมดุลไว้ได้ 



                                             2. บทความสอนลูกเรื่องสัตว์ (Animals)

                                            โดยบทความของ นางสาวอรุณี พระนารินทร์




การสอนเรื่องสัตว์ให้แก่เด็กปฐมวัย จะเกิดประโยชน์ต่อเด็กในด้านต่างๆ ดังนี้
ด้านร่างกาย เด็กจะได้เคลื่อนไหวร่างกายประกอบจังหวะ เลียนแบบท่าทางของสัตว์ต่างๆ ได้ออกกำลักายกลางแจ้งผ่านเกมการละเล่นเกี่ยวกับสัตว์ เช่น แม่งู ลิงชิงบอล วิ่งเปี้ยว เป็นต้น ด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กจะได้ทดลองให้อาหารสัตว์ เล่าถึงสัตว์เลี้ยงของตนเอง เป็นการปลูกฝังความเอื้อเฟื้อ ความมีน้ำ ใจ เมตตากรุณาต่อสัตว์ และการฟังนิทานเกี่ยวกับสัตว์อันเป็นการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น นิทานอีสปด้านสังคม เด็กจะเรียนรู้การทำกิจกรรมร่วมกันกับเพื่อน และการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ด้านสติปัญญา เด็กจะได้รู้จักการดำรงชีวิตของสัตว์ชนิดต่างๆ อาหารของสัตว์ ลักษณะประเภทของสัตว์ต่างๆ

                3.บทความสอนลูกเรื่องพืช
            โดยบทความของนางสาวอารียา เอี่ยมโพธิ์

 การเรียนรู้เรื่องพืชสามารถส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ดังนี้
ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย การจัดกิจกรรมให้เด็กเคลื่อนไหวร่างกายเป็นต้นไม้ที่ถูกลมพัดโอนเอน ทำให้เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกายทางด้านการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ เช่น แขน ขา ลำตัว และการทรงตัว เป็นต้น กิจกรรมสร้างสรรค์ที่เด็กนำเมล็ดพืชมาปะติดลงในกระดาษ ทำให้เด็กได้ใช้กล้ามเนื้อเล็กในด้านการประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อมือกับตา หรือการทำรถลากจากไม้ แล้วให้เล่นแข่งรถกัน การวิ่งผลัดส่งดอกไม้ ทำให้เด็กได้วิ่งออกกำลังกาย
ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์ จิตใจ ทำให้เด็กรู้สึกผ่อนคลายทางด้านอารมณ์และความรู้สึกด้วยการร้อยดอกไม้ การให้เด็กเคลื่อนไหวร่างกายตามจินตนาการกับดอกไม้ ทำให้เด็กสนุกสนาน และส่งเสริมการจินตนาการด้านการเคลื่อน ไหว
ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสังคม การเรียนรู้เรื่องผักด้วยการได้ประกอบอาหารร่วมกันกับเพื่อน ทำให้เด็กเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่น เรียนรู้การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม บทบาทหน้าที่ของตนเอง ความรับผิดชอบต่อกลุ่ม การอดทนรอคอย และความมีวินัย ส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมทางสังคมที่ดี และยังส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในด้านต่างๆ เช่น ความมีวินัย ความเอื้อเฟื้อ ความมีน้ำใจ เป็นต้น
ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา การจัดกิจกรรมให้เด็กทดลองปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ เด็กจะได้พัฒนาทักษะพื้น ฐานทางด้านคณิตศาสตร์ จากการวัดส่วนสูงของพืชที่ปลูกเป็นรายสัปดาห์ การนับจำนวนดอกไม้ การคาดคะเน และเรื่องของเวลาที่ใช้การปลูก ส่วนทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์เด็กจะได้เรียนรู้จากการสังเกตการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงของพืช การจำแนกสีของดอกไม้ นอกจากนี้กิจกรรมการเพาะปลูกพืชที่ให้เด็กปลูกร่วมกันเป็นกลุ่ม ยังส่งเสริมทักษะในการแก้ปัญหาเป็นกลุ่มให้กับเด็กได้ ส่วนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ การให้เด็กนำดอกไม้มาปะติดลงในกระดาษตามจินตนาการ จะช่วยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวางแผน คิดจินตนาการและสามารถสร้างชิ้นงานให้มีความแปลกใหม่ซึ่งเป็นการพัฒนาด้านการคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็ก นอกจากนี้ การเล่นเกมอนุกรมภาพต้นไม้ ดอกไม้ ทำให้เด็กพัฒนาในด้านการคิดอย่างมีเหตุผลได้

สิ่งที่นำไปพัฒนา
-จากบทความของเพื่อน ทั้ง3บทความ สามารถประยุกต์ใช้ในการเรียน และสมารกนำไปใช้ในอนาคตได้ฝึกสอนได้อย่างดี และสามรถเอาความรู้ไปเผยแพร่ให้กับผู้ปกครองได้ อีกด้วย
ประเมิน


ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจฟังเพ่อนนำเสนอ และช่วยกันตอบคำถาม เพื่อนๆมาเรียนตรงเวลา

ประเมินตนเอง :ตั้งใจเพื่อนนำเสนอบทความ และตั้งใจจดบันทึกสิ่งที่เพื่อนนำเสนอ มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม มาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย

ประเมินอาจารย์ผูเสอน : อาจารย์ได้อธิบายบทความของเพื่อนได้ละเอียด ทำให้ดิฉันและเพ่อนในห้อง ได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น อาจารย?ยังยังตัวอย่างประกอบ เพื่อให้นักศึกษาได้เห็นภาพได้ชัด และเข้าใจมากยิ่งขึ้น






วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่3

Recent Posts
Science Experiences Management For Early Childhood
Teacher  Jintana  Suksamran

3rd

Friday, September 5,2557.
time 13.00 to 16.40 pm


ความรู้ที่ได้รับ (The Knowtedge gained )

            วันนี้เป็นสัแดาห์แรกที่เพื่อนๆจะได้นำเสนอบทความ ตั้งแต่เพื่อนๆเลขที่1-5 จะนำเสนอในสัปดาห์นี้ เรื่องทั้งหมดต่อไปนี้
1.การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2.กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาล
3.สอนลูกเรื่องพืช
4.5แนวคิดการสอนคิด เต็ม "วิทย์" ให้กับเด็กอนุบาล

            - ในสัปดาห์นี้อาจารยืได้สอนเกี่ยววิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ดังต่อไปนี้


สื่งที่จะนำไปพัฒนา (What will be further developed)

   จะนำความรู้ที่ได้รับจากเพื่อนๆที่นำเสนอบทความไปให้ในการเรียนการสอยวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย จากเนื้อหาที่อาจารย์สอนไปใช้เป็นพื้นฐานในการจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัยได้อีกด้วย เพื่อเป็นแนวทาง การสอน  ในการฝึกสอนหรือสอนในอนาคตอีกด้วย


การประเมิน (Evaluation)

     ประเมินตัวเอง (Seif)

 วันนี้ในการฟังบทความที่เพื่อนนำเสนอ ตัวดิฉันเองยังจับประเด็น ไม่ค่อยได้มากนัก ดิฉันก็ได้ร่วมกิจกรรมในห้องเรียนในการตอบคำถามอาจารย์และเพื่อนๆ 

    ประเมินเพื่อน (Friends)

วันนี้เพื่อนตั้งใจอาจารย์สอน และฟังเพื่อนนำเสนอบทความและร่วมตอบคำถามที่อาจรย์ถามเป็นอย่างดี และเพื่อนๆมีความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคน และเพื่อนแต่งกายเรีบยร้อย ถูกระเบียบ มาเรียนครงต่อเวล


   ประมินอาจารย์ (Teacher)
อาจรย์ได้สอนเนื้อครอบคลุมและอธิบายให้นักศึกษาเข้าใจ เช่น ยกตัวอย่างต่างๆ ให้ฟัง สอนแบบให้นักศึกษามีส่วนร่วมในห้องเรียน ทำให้บรรยาศในห้องเรียน มีความสุข สนุกสนาน ไม่ตรึงเครียดน่าเบื่อหน่าย


บันทึกอนุทินครั้งที่2

Recent Posts
Science Experiences Management For Early Childhood
Teacher  Jintana  Suksamran


29 August 2014

Time 13:00 to 16:40 pm.



กิจกรรมรับน้องสาขาการศึกษาปฐมวัย  คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม


กิจกรรมรับน้องสร้างสรรค์




ประโยชน์ที่ได้จากการรับน้อง 



                ประโยชน์ที่ได้จากการรับน้อง ก็มีหลายอย่างด้วยกันน่ะ ตัวอย่างเช่นการสร้างความสามัคคีกันโดยเริ่มตั้งแต่รุ่นพี่ๆที่เป็นผู้จัดกิจกรรม เพื่อให้งานที่จัดออกมาดีต่อมาเมื่องานที่จัดออกมาดีแล้ว ก็ต่อด้วยการเกิดความสามัคคีของรุ่นน้องผู้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อให้กิจกรรมที่จัดขึ้นนั้นได้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดียังเป็นนการสร้างความสัมพัธ์ที่ดีต่อกันด้วยทำให้ได้รู้จักกับเพื่อนๆมากขึ้น

ข้อดีของการรับน้อง


1.คุณจะได้รู้จัหมหาลัยมากขึ้นจากพี่ๆ

2.คุณจะมีเพื่อนเยอะขึ้น จะเกิดความรักเพื่อนมากขึ้นสนิทกันทมากขึ้น

3.คุณจะมีพี่ไห้คำปรึกษา เรื่องรียนและเรื่องอื่นๆภายในมหาลัยได้

4.จะได้รู้จักการใช้ชิวิตในการเสียสละเพื่อส่วนรวม รู้จักเคารพต่อกติกาทางสังคม

5.คุณจะรักสถาบันที่คุณอยู่มากขึ้น



บันทึกอนุทินครั้งที่1

Recent Posts
Science Experiences Management For Early Childhood
Teacher  Jintana  Suksamran

3rd
Friday, September 29,2557.
time 13.00 to 16.40 pm


- ในสัปดาห์นี้เป็นการเปิดภาคเรียนเป็นวันแรกภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2557 

การอาจรย์ได้แนะแนวเกี่ยวกับเรื่อง

 -การแต่งกายมาเรียนทุกครั้งต้องแต่งกายให้เรียบร้อย 
 -รองเท้าต้องวางไว้นอกห้องให้เรียบร้อย
 -การเรียนต้องมาเรียนตรงเวลา หรือสายไม่เกิน 10 นาที 
  -มารยาทในชั้นเรียน ต้องให้เกียรติอาจารย์ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียน
  -แฟ้มสะสมงาน อาจารย์ได้เสนอให้ทำเป็นบล็อกเกอร์ เพราะสะดวก ประหยัด และสามารถเรียกใช้งานได้ทันที 

การทำ Blogger ควรมีหัวข้อดังนี้

1. สรุปเนื้อหาที่ได้เรียนในแต่ละครั้งลงใน Blogger
2. สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไรบ้าง
3. ครูสอนใช้เทคนิคอะไรบ้าง
4. ให้นักศึกษา Link วิทยานิพนธ์

การประยุกต์ใช้

-ในการอ่าน Course Sylabus ของวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ทำให้เข้าใจเกี่ยวกับแผนการจัดเรียนรู้ ทักษะต่างๆที่เราจะต้องนำไปสอนให้กับเด็กปฐมวัย
- การทำ Blogger สามารถที่จเก็บไว้ให้รุ่นน้องได้เรียนรู้ต่อไป เป็นแบบอย่างได้ และที่สำคัญเราสามารถกลับมาดูเนื้อหาได้อีกด้วย


   บทความ

 แนวทางสอนคิด เติม "วิทย์" ให้เด็กอนุบาล

       ร. วรนาท รักสกุลไทย นักการศึกษาปฐมวัย ผู้อำนวยการโรงเรียนเกษมพิทยา (ฝ่ายอนุบาล)



  
สรปบทความ

          วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็ก ๆ จริงหรือ ? ถ้าเด็ก ๆ เรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจะยากเกินไปไหม ? ควรจะให้เด็ก ๆ     อนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร ? คำถามเหล่านี้ต่างพ่อแม่ผู้ปกครอง และแม้แต่คุณครูเองก็ยังสงสัยอยู่
                 แท้จริงแล้ววิทยาศาสตร์คือความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำ ความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง ซึ่งความพยายามเช่นนี้จะติดตัวกับมนุษย์เรามาตั้งแต่
                 แรกเกิด เห็นได้จากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเจอ และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบ
      
                         ผู้ใหญ่ หลายคนที่ไม่เข้าใจในธรรมชาติความเป็นนักวิทยาศาสตร์ตัวน้อยๆ ของเด็ก จึงปิดกั้นโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการไม่ให้ความสนใจ
                    กับคำถามและการ ค้นพบแบบเด็กๆ หรือไม่ได้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะส่งเสริมและต่อยอดทักษะและแนวคิด ที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสม
                   ซึ่งนั่นทำให้การพัฒนาทักษะของเด็กต้องขาดตอนไปอย่างน่าเสียดาย      
                            ดร. วรนาท รักสกุลไทย นักการศึกษาปฐมวัย ผู้อำนวยการโรงเรียนเกษมพิทยา (ฝ่ายอนุบาล) กล่าวว่า "เราคงทราบดีกันอยู่แล้วว่าวิทยาศาสตร์มี
                    ความสำคัญเพียงใด แต่สำหรับเด็กอนุบาล แนวทางการสอนต่างหากที่จะทำให้เด็กสนใจ สิ่งสำคัญที่สุดคือครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็ก
                   เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก รวมถึงต้องอย่าลืมเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้"   
                    ทั้ง นี้ การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในด้านวิทยาศาสตร์นั้น อาจไม่จำเป็นต้องแยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ และอาจ
                   ไม่ต้องกล่าวคำว่าวิทยาศาสตร์เมื่อให้เด็กทำกิจกรรมเลยด้วยซ้ำ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วง เวลานั้น
                   เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียน
                   รู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ
   
                                  ดร.เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว นักวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สสวท. กล่าวถึงแนวทางในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาลว่า
                  "แนวทางของ สสวท.คือต้องการให้คุณครูบูรณาการวิทยาศาสตร์เข้าไปในการเรียนการสอนปกติของ เด็ก ๆ ซึ่งครูและนักการศึกษาปฐมวัยอาจจะมีคำถามว่า
                  จะต้องแยกวิทยาศาสตร์ออกมาเป็นอีกวิชาหนึ่งไหม จริง ๆ คือไม่ต้อง เพราะการเรียนรู้ในระดับปฐมวัยจะเน้นการเรียนรู้แบบองค์รวม ไม่ต้องแยกเป็นวิชา
                  เพราะวิทยาศาสตร์คือกระบวนการการเรียนรู้ อยากให้คุณครูมองว่า มันคือการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัวของเด็กๆ"
   
                            " สำหรับปัญหาที่พบในขณะนี้ก็คือ บางครั้งเด็กมีคำถาม แล้วครูตอบไม่ได้ เพราะเราก็ต้องเข้าใจครูปฐมวัยด้วยว่า อาจไม่มีพื้นฐานในสายวิทย์มากนัก
                ดังนั้นเมื่อครูเกิดตอบคำถามเด็กไม่ได้ก็จะเกิดหลายกรณีตามมา เช่น ครูบอกเด็กว่า เธออย่าถามเลย เด็กก็ถูกปิดกั้นการเรียนรู้ไปเสียอีก กับอีกแบบ
                 คือ ครูตอบคำถามเด็ก ซึ่งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ควรจะเป็นการเรียนรู้ไปด้วยกัน ให้เด็กหาคำตอบด้วยตัวเอง ไม่ใช่รอให้ครูหามาป้อน และถ้าครูตอบผิดเด็กก็อาจจำไปผิด ๆ ได้" 
               นอกจากนี้ ดร.เทพกัญญา ยังได้ให้แนวทางในการ "สืบเสาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก" อันประกอบแนวทางปฏิบัติ 5 ข้อดังนี้
   
         1. ตั้งคำถามที่เด็กสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง เช่น คำถามเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว หรือโลกของเรา
         2. ออกไปหาคำตอบด้วยกัน เนื่องจากคำถามในระดับเด็กอนุบาลมักจะเปิดกว้าง ดังนั้นการค้นหาคำตอบอาจมีครูคอยช่วยจัดประสบการณ์
ให้เด็กตามที่เขาตั้งขึ้น
   
        3. เมื่อขั้นสองสำเร็จ เด็กจะเอาสิ่งที่เขาค้นพบมาไปตอบคำถามของเขาเอง ในขั้นนี้คุณครูอาจช่วยเสริมในแง่ของความครบถ้วนสมบูรณ์หรือในด้านของเหตุและผล
   
       4. นำเสนอสิ่งที่เขาสำรวจตรวจสอบมาแล้วให้กับเพื่อน ๆ
      5. การนำสิ่งที่เด็กค้นพบคำตอบนั้นไปเชื่อมโยงกับคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์
   
       สำหรับข้อ 5 นั้น ดร.เทพกัญญากล่าวว่า ในระดับเด็กอนุบาลอาจยังไม่สามารถก้าวไปถึงจุดนั้นได้ อาจต้องเป็นเด็กชั้นประถมศึกษาขึ้นไป
     แต่คุณครูก็ไม่ควรละเลย หากมีเด็กอนุบาลบางคนเข้าใจ คุณครูก็อาจช่วยให้เขาสามารถอธิบายได้แบบวิทยาศาสตร์ แต่ถ้าไม่ถึงก็ไม่จำเป็นต้องเคี่ยวเข็ญเด็ก ๆ
    แต่อย่างใดไม่ เพียงแต่คุณครูและโรงเรียนที่จะเป็นผู้ส่งเสริมทักษะด้านวิทยาศาสตร์ให้กับ เด็ก ๆ แต่พ่อและแม่เองนั้นก็มีบทบาทมากเช่นกัน แนวทางดี ๆ ข้างต้น
    อาจเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้เด็ก ๆ และครอบครัวในยุคต่อไปเข้าใจ และรักใน "วิทยาศาสตร์" ได้มากขึ้นก็เป็นได้ค่ะ